BAY ปี 67 ตั้งเป้าสินเชื่อกลุ่มธุรกิจธนกิจ JPC/MNC เติบโตแตะ 7% มีแผนดึงลูกค้าต่างชาติเข้าไทย

BAY ปี 67 ตั้งเป้าสินเชื่อกลุ่มธุรกิจธนกิจ JPC/MNC เติบโตแตะ 7% มีแผนดึงลูกค้าต่างชาติเข้าไทย

.

นายบุนเซอิ โอคุโบะ ประธานกลุ่มธุรกิจธนกิจพาณิชย์เกี่ยวกับญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติ (JPC/MNC Banking) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้ตั้งเป้าการเติบโตของสินเชื่อในกลุ่มลูกค้าไว้อย่างท้าทาย ที่7% แม้สินเชื่อที่ลดในปีที่แล้ว ทั้งทางด้านหนี้เสีย (NPLs) นั้น ทุกธุรกิจก็ต่างอยู่ในช่วงขาขึ้นซึ่งทางกลุ่มธุรกิจเองก็พยายามควบคุมให้อยู่ในจุดที่ต่ำ


กลุ่มธุรกิจธนกิจพาณิชย์เกี่ยวกับญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติ (JPC/MNC Banking) ภายใต้ธนาคารกรุงศรีอยุธยามีมูลค่าทางการตลาดอยู่ที่ 2.33 แสนล้านบาท โดยมีสัดส่วนทางธุรกิจญี่ปุ่น (JPC) 88% และบรรษัทข้ามชาติ 12% (MNC)


ในขณะที่เป้าหมายเติบโตทางธุรกิจในช่วง 2-3 ปี มองว่าเป็นอีกหนึ่งความท้าทาย ซึ่งคาดว่าเศรษฐฏิจประเทศไทย (GDP) จะเติบโตอยู่ที่ 2.7% ดังนั้นการเติบโตของกลุ่มธุรกิจคาดว่าไม่เกินตัวเลขคาดการณ์นั่นเอง อีกทั้ง ด้านผลประกอบการของกลุ่มธุรกิจในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากอยู่ในจุดที่เศรษฐกิจชะลอตัว จึงส่งผลให้ความต้องการสินเชื่อลดลงนั่นรวมไปถึงธุรกิจด้านยานยนต์ แต่อย่างไรก็ตามกำไรของกลุ่มธุรกิจนั้นออกมาค่อนข้างดี


นอกจากนี้ แผนดำเนินงานในปี 2567 มีมุมมองสำคัญในการดำเนินงาน 4 ด้านประกอบไปด้วย

          - เร่งส่งเสริมระบบนิเวศด้านความยั่งยืน (ESG Ecosystem) ให้กับสังคมไทยผ่านความร่วมมือกับ MUFG เพื่อนำเสนอโซลูชันทางการเงินเพื่อความยั่งยืนที่ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านผลิตภัณฑ์ทางการเงิน 

          - ต่อยอดความร่วมมือเพื่อส่งเสริมระบบนิเวศของสตาร์ทอัพ (Startup Ecosystem) โดยจะขยายความร่วมมือเพิ่มเติมกับ สปป. ลาว และเวียดนาม เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลที่เอื้อต่อสังคม ชุมชน ทั้งในประเทศไทยและอาเซีย

          - ขยายฐานลูกค้าบรรษัทข้ามชาติจากกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (East Asian Economies) ด้วยพื้นฐานและปัจจัยที่เอื้อต่อการลงทุนในประเทศไทย กรุงศรีจะใช้โอกาสนี้ทำงานร่วมกับ MUFG เพื่อดึงดูดการลงทุนจากจีน ไต้หวัน ฮ่องกง และเกาหลี ในการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจจากกลุ่มประเทศที่ต้องการเข้ามาลงทุนและขยายการเติบโตของธุรกิจในประเทศไทย

          - เน้นโครงการ Krungsri ASEAN LINKED เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค โดยสนับสนุนธุรกิจของลูกค้าในทุกระดับ แต่อย่างไรก็ตาม การให้บริการทางธนาคารจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ด้วยเพื่อการให้บริการลูกค้าอย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ ได้มองเห็นภาพการเติบโตในประเทศในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะ ประเทศเวียดนาม, อินโดนีเซีย และ ฟิลลิปปินส์ และมีจุดประสงค์ที่ต้องการขยายโอกาสให้ลูกค้าเข้าถึงภูมิภาคนี้ ทั้งการลงทุนและขยายธุรกิจนั่นเอง


จากแผนโครงการ มองเห็นการเติบโต 3 ประเทศ อย่างเช่น ประเทศเวียดนาม มีนักลงทุนชาวจีนเข้ามาลงทุน อีกหลายบริษัทดังให้ความสนใจ นอกจากนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของทั้งสามประเทศเมื่อเทียบกับทั้งภูมิภาคอาเซียน,เวียดนาม,อินโดนีเซีย และ ฟิลลิปปินส์ ดังนี้ 4.8%, 4.5%, 5.0%, 5-6% ตามลำดับ ถือว่าอยูในระดับที่ยังมีการเติบโตต่อได้อีกและน่าลงทุน


ทั้งนี้ มอง 3 อุตสาหกรรมที่จะมีโอกาสเติบโต พลังงานทดแทน รวมไปถึงภาคการผลิตในเวียดนามและลุ่มแม่น้ำโขง และภาคโลจิสติค 


นายบุนเซอิ กล่าวเสริม ถึงความเสี่ยงและข้อจำกัดทางธุรกิจในประเทศไทย ทั้ง 3 มุมมอง มองว่าข้อจำกัดมาจากปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในสังคมผู้สูงอายุ (aging society) , การขาดแคลนแรงงาน และตัวเลขของหนี้ครัวเรือนที่สูงมากอาจจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจรถยนต์


#BAY #JPC_MNC #ธุรกิจธนกิจพาณิชย์เกี่ยวกับญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติ #ธนาคารกรุงศรีอยุธยา